(Review) Loga Asura Pro(v.2020) Flaretech Optical Keyboard
date
Nov 16, 2020
slug
review-loga-asura-prov2020-flaretech-optical-keyboard
status
Published
tags
keyboard
review
summary
แรกเริ่มเดิมทีช่วงที่เริ่มเขียนเว็บบล็อกนี้ขึ้นมา ช่วงที่โค้ดตัว Hugo อยู่นั้น เป็นไปด้วยความยากลำบาก เพราะคีย์บอร์ดคู่บุญคู่กรรมที่อยู่ด้วยกันมา 2 ปีกว่าอย่างเจ้า Logitech G412 ก็เริ่มแสดงอาการหงุดหงิดงอแง เริ่มพิมพ์ติดบ้างไม่ติดบ้าง
type
Post
category
review
แรกเริ่มเดิมทีช่วงที่เริ่มเขียนเว็บบล็อกนี้ขึ้นมา ช่วงที่โค้ดตัว Hugo อยู่นั้น เป็นไปด้วยความยากลำบาก เพราะคีย์บอร์ดคู่บุญคู่กรรมที่อยู่ด้วยกันมา 2 ปีกว่าอย่างเจ้า Logitech G412 ก็เริ่มแสดงอาการหงุดหงิดงอแง เริ่มพิมพ์ติดบ้างไม่ติดบ้าง อาการเบิ้ลหลอนก็มาบ่อยขึ้นๆ กดเว้นหนึ่งครั้งพี่แกแถมให้อีก 2 ครั้ง เงินๆทองๆก็ยิ่งไม่ค่อยจะมีอยู่ด้วย เลยฝืนๆใช้ไปก่อน เหมือนมันรู้และเหมือนจะแกล้ง
วันต่อมาที่เขียนๆบล็อกอยู่นั้น ปุ่ม Backspace เจ้ากรรมก็ดันลาโลกไปดื้อๆ ทำให้พิมพ์ก็เบิ้ล แถมลบไม่ได้อีก เลยคิดว่าแบบนี้มันไม่ได้แล้ว งานเขียนไม่ไหลลื่นแน่ๆ ยิ่งเขียนยิ่งจะพาให้หงุดหงิด เลยขับรถเข้าไปร้านคอมที่ใกล้ที่สุด ไปหาดูที่รองรับมือตัวใหม่ และก็เหมือนเป็นนิสัยเสียส่วนตัวอย่างหนึ่ง ตั้งแต่เปลี่ยนมาใช้คีย์บอร์ดแบบแมคคานิคัลนั้น ทำให้กลับไปใช้ปุ่มยางทั่วๆไม่ได้อีกเลย รู้สึกพิมพ์ติดขัดไปหมด ปวดข้อนิ้ว บลาๆ (แหม.. หัวสูงจริงๆ)
สรุปผลการค้นหาที่ร้านคอมชื่อดังใกล้บ้าน ไม่มีที่ถูกใจเลย ตัวที่พอจะใกล้เคียงก็เห็นจะมีค่ายงูตัวหนึ่ง แต่ส่วนตัวก็ไม่ชอบที่ทรงเป็นเกมมิ่งจ๋าอีก ก็เลยผิดหวังนิดหน่อย กลับบ้านมาหาข้อมูลเพิ่มเติม คิดไปคิดมาว่าเคยอยากได้เจ้า Zowie ตัวหนึ่ง ที่เป็นสวิตช์ใหม่เป็นวัดการทำงานด้วยแสงนี่นา แต่ดูกระแสเงียบๆไปแล้วกับของเริ่มหายากแล้วด้วย

อะไรคือสวิตช์ออพติคัล (Optical Switch)

ในบรรดาคีย์บอร์ดแมคคานิคัล (ที่คนส่วนใหญ่จะจำว่าเป็นคีย์บอร์ดเด็กเล่นเกมที่เสียงลั่นๆ) ใช้หลักการทำงานที่ซับซ้อนกว่าปุ่มยางที่ใช้กันทั่วไปราคาไม่กี่ร้อยอยู่มาก อธิบายคร่าวๆคือ การใช้สวิตช์กลไกลในการรับคำสั่ง ทำให้สัมผัสการพิมพ์จะต่างออกไป ความคงทนต่างๆ ก็ต่างออกไป และการที่มันใช้สวิตช์ 1 ตัว ต่อปุ่มอักษรบนแป้น 1 ตัว ทำให้ต้นทุนย่อมสูงกว่าคีบอร์ดปุ่มยาง ที่ใช้หลักการง่ายกว่า แผงวงจรชุดเดียวครอบทับด้วยชั้นปุ่มยาง 1 แผ่น
การทำงานของปุ่มยาง
การทำงานของปุ่มยาง
ในบรรดาสวิตช์แบบกลไกลทั้งหลายจะใช้หลักการคือ ภายในสวิตช์จะมีหน้าสัมผัสอยู่ 2 ส่วน ที่ยังไม่แตะกัน แต่เมื่อมีการกดปุ่มภายในสวิตช์แกนด้านในจะไปดันให้หน้าสัมผัสดังกล่าวสัมผัสกัน ส่งสัญญาณไฟฟ้าผ่านแผงวงจรในตัวคีย์บอร์ดไปยังคอมพิวเตอร์ให้รับรู้ว่ามีการกดปุ่มที่ตำแหน่งใดๆ
 
ปุ่มแมคคานิคัล
ปุ่มแมคคานิคัล
เข้าเรื่องกันดีกว่า เขียนไปเยอะแต่ยังไม่เข้าหัวข้อเลยสักนิด เจ้า Optical Switch นั้นจัดเป็นกลไกลอย่างหนึ่ง แตกต่างด้วยการเปลี่ยนจากการใช้หน้าสัมผัสทองแดง 2 ชิ้น เป็นการใช้แสงแทน พิมพ์ไปก็คงจะไม่เห็นภาพ เพราะฉะนั้นผมเลยไปหาภาพมาอธิบายให้เข้าใจให้มากขึ้น
notion image
หลักการทำงานของ Flaretech Optical Switch
อธิบายจากภาพคือ ใช้การยิงแสงขึ้นมาที่ปุ่ม โดยมีตัวรับแสงอยู่ข้างๆกัน โดยเมื่อกดปุ่มลงไป กลไกลของปุ่มที่มีปริซึมอยู่จะถูกดันลงมาให้ลงล็อคพอดีกับตำแหน่งที่จะทำให้แสงถูกสะท้อนกลับไปยังตัวรับแสงดังกล่าว เกิดสัญญาณผ่านแผงวงจรส่งไปยังคอมพิวเตอร์ว่ามีการกดปุ่มเกิดขึ้น

การใช้แสงในการทำงาน

ส่งผลให้
  1. ทำให้การทำงานส่วนใหญ่จะถูกย้ายไปอยู่ที่แผงวงจรส่วนใหญ่ สวิตช์จะเป็นเพียงตัวคอยกั้นและหักเหของแสง
  1. ตัดข้อกังวลเรื่องความเสียหายของหน้าสัมผัสที่เกิดจากการใช้งานเมื่อผ่านไประยะเวลาหนึ่ง
นอกจากนี้เจ้าสวิตช์แสงที่ว่านี้จริงๆสามารถวัดระยะได้ด้วยว่า กดหนักเบาแค่ไหน แต่เกมในยุคปัจจุบันนั้นยังมองอุปกรณ์ชิ้นนี้เพียงแค่ กดและไม่กด จึงไม่ได้ใช้ประโยชน์ตรงนี้แต่อย่างใด
สวิตช์แสงเองก็มีหลายเจ้า หลักการทำงานแต่ละเจ้าก็จะต่างกันไป แต่ในที่นี้ขอยกแค่แบรนด์ Flaretech จาก Admoax มาเท่านั้น เพราะเจ้า Loga Asura Pro ใช้เจ้านี้

เข้าเรื่องรีวิวกันดีกว่า

โดยสีที่สั่งมานั้นเป็นสีดำ ใจจริงก็แอบเล็งสีขาวไว้ แต่เนื่องด้วยความชอบส่วนตัวที่เป็น Linear คืออารมณ์เหมือนสวิตช์ที่เป็น CherryMX สีแดง สีดำ ประมาณนั้นกดขาวๆไม่มีเสียงคลิกให้กวนใจ (แต่ใจจริงแล้วสวิตช์ที่ชอบที่สุดคือสีน้ำตาล แต่เคยใช้มานานพอสมควร แก่แล้วหมดสนุกแล้ว ฮ่าๆ) ซึ่งเจ้าสีขาวที่วางขายในไทยนั้น"หมด"ทุกร้าน ครั้งแรกผมเช็คกับศูนย์ไทย Loga Store ว่ามันหมดจริงๆหรือเปล่า ทางศูนย์แจ้งกลับมาด้วยความรวดเร็วว่า หมดทุกร้านเลย (ทำหน้าเศร้า) แต่ก็ไม่เป็นไร เพราะส่วนตัวผ่านสีขาวมาหลายตัว จะชอบเจอปัญหาคือ แคปไม่เก็บแสงไฟ (ไฟลอด) ใช้ไปนานๆสีเริ่มออกอาการอมเหลือง สกปรกง่าย ถึงจะทำความสะอาดบ่อยแต่ก็ไม่ชอบใจเท่าไรนัก ประจวบเหมาะกับสีดำ สวิตช์ Linear ยังมีอยู่ในสต็อกพอดิบพอดี จึงทำการสอบถามไปยังศูนย์ไทยว่า สีดำกับสีขาวต่างกันอย่างไร ทางศูนย์ตอบกลับว่าในเวอร์ชั่น 2020 ต่างกันเพียงสีของบอดี้เท่านั้น นอกนั้นไม่ต่างกัน ลบข้อกังวลใจในบางรีวิวขณะหาข้อมูลประกอบการตัดสินใจที่ว่า สีขาวกับดำ ต่างกันในลูกเล่นบางอย่าง ก็เลยกดสั่งไปอย่างไม่คิด (ศูนย์ไทยตอบข้อมูลรวดเร็วมาก ชอบใจในจุดนี้)
ณ ขณะที่สั่งเป็นสุดสัปดาห์ ปกติแล้วระบบขนส่งจะไม่ชอบส่งในวันอาทิตย์ (วันที่สั่งตรงกับวันศุกร์กลางคืน ทางศูนย์ส่งของออกมาวันเสาร์) แต่ด้วยอานุภาพของช่วง 11.11 ที่เป็นเทศกาลลดราคาประจำปีพอดี ทำให้ขนส่งมาส่งของให้ในวันอาทิตย์ ได้รับเร็วกว่าปกติ

เปิดกล่องกันดีกว่า

ทางศูนย์บรรจุหีบห่อกันกระแทกมาอย่างดี แต่ด้วยความรีบร้อนอยากใช้ของใหม่เร็วๆจึงลืมเก็บภาพมาให้ชมกัน
ตัวกล่องจะมีการเล่นลวดลายรูปยักษ์ด้วยเทคนิคเล่นเคลือบมันสลับกับเคลือบด้าน
ตัวกล่องจะมีการเล่นลวดลายรูปยักษ์ด้วยเทคนิคเล่นเคลือบมันสลับกับเคลือบด้าน
เปิดกล่องมาจะพบกับห่อสีขาวที่บรรจุพระเอกของเราด้านใน
เปิดกล่องมาจะพบกับห่อสีขาวที่บรรจุพระเอกของเราด้านใน
ที่ใต้กล่องเขียนไว้ว่า Assist your world
ที่ใต้กล่องเขียนไว้ว่า Assist your world
หยิบคีย์บอร์ดออกไปทิ้งก่อน (หยอกๆ) ภายในกล่องมีคู่มือการใช้งานมาให้ แนะนำให้อ่าน หรือจะอ่านที่เขียนอยู่ด้านในกล่องก็ได้
หยิบคีย์บอร์ดออกไปทิ้งก่อน (หยอกๆ) ภายในกล่องมีคู่มือการใช้งานมาให้ แนะนำให้อ่าน หรือจะอ่านที่เขียนอยู่ด้านในกล่องก็ได้
เปิดกล่องออกอีกชั้นจะพบกับถุงบรรจุอุปกรณ์ต่างๆ ประกอบด้วย สาย usb-c สวิตช์สำรองชนิดเดียวกันกับตัวคีย์บอร์ด 2 ตัว และที่ดึงคีย์แคปและสวิตช์
เปิดกล่องออกอีกชั้นจะพบกับถุงบรรจุอุปกรณ์ต่างๆ ประกอบด้วย สาย usb-c สวิตช์สำรองชนิดเดียวกันกับตัวคีย์บอร์ด 2 ตัว และที่ดึงคีย์แคปและสวิตช์
Loga Asura Pro นั้นเป็นคีย์บอร์ดทีสามารถเปลี่ยนสวิตช์ได้ หากปุ่มไหนใช้งานไปแล้วเกิดเสียขึ้นมาก็สามารถเอาปุ่มแถมภายในกล่องมาเปลี่ยนได้ทันที โดยใช้ที่ดึงที่แถมมาดึงคีย์แคปออก จากนั้นดึงตัวสวิตช์ และใส่ปุ่มใหม่ลงไปแทนได้เลย ไม่ต้องส่งซ่อม บัดกรีอะไรให้วุ่นวาย ปัจจุบันคีย์บอร์ดหลายๆเจ้าเริ่มหันมาใช้เทคนิคแบบนี้มากขึ้น เพื่อให้ง่ายต่อการซ่อมแซมด้วยตัวเอง ไม่ต้องส่งศูนย์ซ่อมร้านซ่อมอีกต่อไป
หน้าตาของที่ดึงคีย์แคป และถอดสวิตช์ที่แถมมาในกล่อง (มีสัญลักษณ์บอกชัดเจนว่าด้านไหนทำหน้าที่อะไร)
หน้าตาของที่ดึงคีย์แคป และถอดสวิตช์ที่แถมมาในกล่อง (มีสัญลักษณ์บอกชัดเจนว่าด้านไหนทำหน้าที่อะไร)

มาถึงพระเอกของเรา Loga Asura Pro

notion image
ที่บริเวณขอบข้างซ้ายของบอดี้คีย์บอร์ด จะสลักชื่อรุ่น Asura Pro สีส้มสวยงามอยู่ (เพียงด้านเดียว) โดยทั้งบอดี้สีขาวและดำจะสลักด้วยสีส้มทั้งหมด
notion image
ตัวปุ่มจะเป็นแบบ Duble shot ไฟลอดได้เฉพาะตัวอักษรภาษาอังกฤษ (รองรับการแต่งคีย์แคปแกน + ชนิดเดียวกับ CherryMX ด้วย)
notion image
ทางด้านบนของปุ่มลูกษรจะมีลูกกลิ้งเอนกประสงค์อยู่ สามารถใช้ปรับความสว่างของแสงไฟบนคีย์บอร์ดได้ และสลับไปปรับความ ดัง-เบา ของเสียงบน pc ได้ด้วยปุ่มที่อยู่ทางด้านซ้าย และถัดมาคือปุ่มล็อค Windows ป้องกันการเผลอไปกดโดนโดยไม่ตั้งใจขณะเล่นเกม
คีย์บอร์ดจะเป็นแบบมีไฟ RGB ซึ่งมีรูปแบบสวยงาม และหลายโหมดให้ได้ลองเล่นกัน โดยทั้งหมดนั้นไม่ต้องผ่านการลงโปรแกรมใดๆเพิ่มเติม ซึ่งทางผ้ผลิตให้เหตุผลว่า ต้องการเน้นความเร็วในการใช้งาน และการลงโปรแกรมเพิ่มนั้นจะทำให้เกิดดีเลย์เพิ่มขึ้นในการรับส่งคำสั่งต่างๆ ถึงจะเป็นระดับ milisecond แต่ในระดับการแข่งขั้นที่ต้องการความจริงจังก็ถือว่ามีความหมาย (เป็นการชูจุดเด่นของตัวสวิตช์ให้มากขึ้นไปอีก)
โดยรูปแบบ ไฟจะมีทั้งหมด 18 รูปแบบด้วยกัน แบ่งตามการกดปุ่ม Fn บนคีย์บอร์ดร่วมกันกับปุ่ม Ins, Home, และปุ่มอื่นๆในบริเวณกลุ่มเดียวกันทั้ง 6 ปุ่ม โดยแบ่งเป็นปุ่มละ 3 โหมดไฟ จึงรวมเป็น 18 โหมดไฟ และ การปรับสีของแสงไฟก็ใช้การกดปุ่ม Fn + ลูกศรขวา และ ปรับทิศทางของการเคลื่อนที่ของไฟด้วยปุ่ม Fn + ลูกศรซ้าย และนอกจากนั้นยัง สามารถใช้ควบคุมเคอร์เซอร์เมาส์ และ ตั้งโปรไฟล์กำหนดแสงไฟแต่ละปุ่มให้ปิดหรือเปิดได้ รวมถึงสีไฟในแต่ละปุ่มเองได้ตามอิสระได้เช่นกัน (ขอแนะนำให้อ่านคู่มือโดยละเอียดจะดีที่สุด)

พูดถึงเรื่องการใช้งานและความรู้สึก

การใช้งานนั้นค่อนข้างง่าย เพียงแค่เสียบเข้ากับคอมพิวเตอร์ก็สามารถใช้งานได้ทันที ไม่ต้องมีการลงไดรเวอร์อะไรให้วุ่นวายใจ เน้นความรวดเร็วในการเซ็ตอัพอุปกรณ์ในกรณีนักกีฬานำไปใช้
ขอเกริ่นย้ำก่อนว่า ตัวที่สั่งมาใช้งานเองและที่เขียนรีวิวปัจจุบันอยู่นี้ คือปุ่ม linear สีม่วง (อารมณ์ประมาณ Cherry Red Switch)
เรื่องสัมผัสในการพิมพ์นั้น หลังจากใช้พิมพ์ความรู้สึกแรกคือ ทำไมมันโหวงๆลอยๆโล่งๆแปลกๆ เหมือนปุ่มไม่แน่น ซึ่งจริงๆแล้วต้องบอกตามตรงว่า จากการสังเกตงานประกอบของตัวปุ่มจากปุ่มที่แถมมาในกล่อง ก็แน่นหนาดี ส่วนตัวขอตั้งขอสังเกตไว้ว่า อาจจะเป็นเพราะตัวสวิตช์นั้นไม่มีกลไกลในตัวปุ่มที่เป็นหน้าสัมผัส เวลากดจะไม่เกิดการลงล็อคการถู-กระทบกันของหน้าสัมผัสต่างๆ การเกิดอาการที่เรียกกันเป็นศัพย์เฉพาะว่า "Bottom out" ดูแล้วเหมือนจะลึกกว่าเชอรี่อยู่บ้าง ถ้าคนที่ไม่คิดมากไม่ได้ติดคาแรคเตอร์ของสวิตช์แมคคานิคคัลของแบรนด์อื่นๆ อย่าง CherryMX หรือแบรนด์ใกล้เคียงแบบผมจะไม่รู้สึกอะไรมากนัก แต่ถ้าใครที่ซีเรียสสัมผัสในการพิมพ์ตรงนี้อาจจะรู้สึกขัดใจเล็กน้อย
ต้องยอมรับว่าหลังจากที่ปรับตัวเข้ากับเจ้า Asura ได้แล้วจะพบว่าการพิมพ์งานนานๆด้วยเจ้าตัวนี้ มันค่อนข้างใช้สบายเลยทีเดียว พิมพ์เบาสบายมือ ไม่ล้าจากการกดลงไปจนสุดก็ทำงานได้ หลายๆท่านอาจจะตั้งข้อสงสัยแล้วว่า "มันขนาดนั้นเลยหรือ" ตรงนี้ต้องขอแจ้งให้ทราบว่า เป็นความรู้สึกส่วนบุคคลล้วนๆ แต่ละคนจะมีความชอบสัมผัสที่แตกต่างกันออกไป อย่าเชื่อจนกว่าจะได้ลองเอง การลองจะเป็นตัวช่วยในการตัดสินใจได้ด้วยตัวเองว่ามันเหมาะกับเราไหม แต่โดยส่วนตัวแล้วค่อนข้างถูกใจในหลายๆองค์ประกอบของ Asura Pro ตัวนี้เลยทีเดียว
สุดท้ายนี้เรื่องที่ขาดตกบกพร่องไปในการเขียนรีวิวนี้ก็คงจะเป็นเรื่องความคงทนของสวิตช์ ที่คงจะต้องให้เวลาเป็นตัวช่วยพิสูจน์ต่อไป ว่าจะเป็นไปตามที่กล่าวอ้างในคำโปรยหรือไม่ และท้ายที่สุดก็ขอขอบคุณผู้อ่านที่อ่านจนถึงตรงนี้ หากชอบใจจะช่วยเผยแพร่บทความนี้ หรือบทความอื่นๆ จะเป็นพระคุณยิ่ง บทความหน้าจะเขียนเรื่องเกี่ยวกับอะไร ต้องคอยติดตามกันต่อไป

Reference

Last edited : Apr 11, 2022
Copyright
  • keyboard
  • review